วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

อุปกรณ์เครือข่าย

LAN Card

การ์ดแลน (LAN Card) ป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อเมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น

LAN Card

                                         

LAN Card

การ์ดแลน(LAN Card) เป็นชื่อที่เรียกกันติดปากทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการของมันมีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต มีไว้สำหรับรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะัมีสายที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ส่วนเครื่องอื่นก็ใช้การแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก ความเร็วในการ์ดแลนจะอยู่ที่ประมาณ 100 Mbps และเริ่มเข้าสู่ 1000 Mbps หรือเรียกกันว่า กิกะบิตแลน(Gigabit LAN) แต่ก็อย่างว่าแหละัครับ การเชื่อมต่อแบบแลนคือการแชร์ บางคนอาจจะเปิดมาก หรือเปิดน้อยขึ้นอยู่ว่าจะเล่นแบบไหน อาจทำให้เกิดการดึงกันระหว่างเครื่อง เครื่องที่เล่นไฟล์ที่ต้องใช้การดาวน์โหลดมากๆ ก็จะทำให้เครื่องอื่นเล่นได้ช้าลง

สายแลนมี 2 แบบ คือแบบตรง กับแบบไขว้
แบบตรง ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์โดยใช้ Switch หรือ Hub เป็นตัวแยกสัญญาณ
แบบไขว้ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ประเภทเดียวกัน เข้าหากัน เช่น                                    เครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์     Switch ต่อกับ Switch                                                                                                           Router ต่อกับ Router
            หรือ ใช้สำหรับต่ออุปกรณ์ต่างชนิดกัน แต่มีการทำงานระดับเดียวกัน (layer 3 - layer                7) เข้าหากัน เช่น
                        คอมพิวเตอร์ ต่อกับ Router
                        คอมพิวเตอร์ ต่อกับ UT
                       UT ต่อกับ ATA
       
 การจะดูว่าเป็นสายตรง หรือสายไขว้ ให้ถอดเอา หัวสายแลนมาหงาย เทียบสีดู ถ้าทั้ง      สองหัว สีเหมือนกันก็เป็นสายตรง ถ้ามีสลับสี เส้นที่ 1 กับเส้นที่ 3 และ เส้นที่ 2 กับเส้น      ที่    6 ก็เป็นสายไขว้

สายUIP

             สาย UTP เป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันย่อมาจากคำว่า Unshielded Twisted Pair เป็นสายขนาดเล็กที่ไม่มีชีลด์ห่อหุ้ม มีเส้นตีเกลียวเป็นคู่ ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวนในการเชื่อมต่อจะใช้หัวต่อแบบ RJ-45เป็นสองหัวต่อสาย เส้นสามารถต่อสายได้ยาวสูงสุดประมาณ 100 เมตร อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อคือสาย UTP,คีมยั้มหัว RJ-45,และชุดทดสอบสาย (Network Cable Tester)ชนิดของสาย UTP ที่มีใช้งานปัจจุบันมีดังนี้
ชนิดของสาย UTP ประกอบด้วย
          >Category 3 (CAT 3) วิ่งที่ความเร็ว 10 Mbps< 10 BASET Ethernet
          >Category 5 (CAT 5) วิ่งที่ความเร็ว 100 Mbps < Fast Ethernet
          >Category e (CAT 5e) วิ่งที่ความเร็ว 1000 Mbps (1 Gbps) < Gigabit Ethernet
          >Category 6 (CAT 3) วิ่งที่ความเร็ว 1000 Mbps (1 Gbps) < Gigabit Ethernet

ตารางเปรียบเทียบหมวดหมู่สายสัญญาณแบบ UTP

การเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP  จะมีอยู่ แบบ คือ
             -  แบบ T568A แบบไขว้ (Com To Com) ใช้ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องเข้าด้วยกันหรือต่อจาก Hub ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การต่อสายมีการสลับสายคู่ที่ 1-3,2-6
             - แบบT568B แบบธรรมดา (Com To Hub)ใช้ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังHub/Switch การต่อสายทั้งสองด้านจะเหมือนกันดังจะแสดงในตารางประกอบ

ภาพแสดงตารางการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP



ภาพกราฟิกแสดงการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP




ภาพกราฟิกแสดงการเรียงสายแบบมาตราฐานของสาย UTP


ภาพแสดงการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTPของจริง



ภาพแสดงคีมยั้มหัวหรือคีมเข้าหัวสาย UTP แบบ RJ-45.



ภาพแสดงหัวRJ-45และNetwork Cable Tester


Router


Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว 

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง

หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง

บริดจ์

บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น


Repeater

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขยายสัญญาณเมื่อสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายยาวมากขึ้น เพื่อขยายสัญญาณที่ถูกลดทอนลงเนื่องจากระยะทาง อุปกรณ์รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer แต่ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์ คือ มันจะทำงานในระดับต่ำ โดยไม่สนใจสัญญาณที่ส่งว่าเป็นข้อมูลอะไร จากไหนถึงไหน รู้แต่ว่าถ้ามีสัญญาณเข้ามาทางฟากหนึ่งก็จะขยายแล้วส่งต่อออกไปยังอีกฝากหนึ่งให้เสมอ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ดังนั้นรีพีตเตอร์จึงไม่ได้มีส่วนช่วยจัดการจราจรหรือลดปริมาณข้อมูลที่ส่งออกมาบนเครือข่าย LAN  อุปกรณ์อื่น  ไม่ว่าจะเป็นฮับ,บริดจ์, เร้าเตอร์, และเกตเวย์ ต่างก็มีความสามารถของรีพีตเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ repeater หน้าที่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ repeater หน้าที่


FIBER OPTIC

FIBER OPTIC เส้นใยแก้วนำแสง คือ เส้นใยขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำแสง  โครงสร้างของเส้นใยแสงประกอบด้วยส่วนที่แสงเดินทางผ่านเรียกว่า CORE และส่วนที่หุ้มCORE อยู่เรียกว่า CLAD ทั้ง CORE และ CLAD เป็นDIELECTRIC ใส 2 ชนิด (DIELECTRIC หมายถึงสารที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น แก้ว พลาสติก) โดยการทำให้ค่าดัชนีการหักเหของ CLAD มีค่าน้อยกว่าค่าดัชนีการหักเหของCOER เล็กน้อยประมาณ 0.2 ~3% และอาศัยปรากฎการณ์สะท้อนกลับหมดของแสง สามารถทำให้แสงที่ป้อนเข้าไปใน CORE เดินทางไปได้นอกจากนั้นเนื่องกล่าวกันว่าเส้นใยแสงมีขนาดเล็กมากขนาดเท่าเส้นผมนั้นหมายถึง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของ  CLAD ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.1 ม.ม. ส่วน CORE ที่แสงเดินทางผ่าน นั้นมีขนาดเล็กลงไปอีกคือประมาณหลาย um ~ หลายสิบ um  (1 um=10-3mm) ซึ่งมีค่าหลายเท่าของความยาวคลื่นของแสงที่ใช้งาน ค่าต่างๆ เหล่านี้เป็นค่าที่กำหนดขึ้นจากคุณสมบัติการส่งและคุณสมบัติทางเมคานิกส์ที่ต้องการ เส้นใยแสงนอกจากมีคุณสมบัติการส่งดีเยี่ยมแล้วยังมีลักษณะเด่นอย่างอื่นอีกเช่น ขนาดเล็กน้ำหนักเบาอีกด้วย

1Fiber

Switch

สวิตซ์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อจากฮับอีกทีหนึ่งมีความสามารถมากกว่า Hub โดยการทำงานของสวิตซ์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ตเหมือนอย่างฮับ ทำให้ในสวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link Layer คือจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล สำหรับในชั้นเชื่อมโยงข้อมูลนั่นจะทำการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้รับจากชั้น Physical Layer เป็นข้อมูลชนิดที่เรียกว่า เฟรม ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ก็คือ Network Layer




Hub

ฮับทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆเข้าด้วยกัน ลักษณะภายนอกของตัวฮับประกอบด้วยพอร์ต RJ-45 (ฮับบางรุ่นจะมีพอร์ตไฟเบอร์ด้วย) ซึ่งจะใช้เป็นจุดต่อสายสัญญาณไปยังแลนการ์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆบนระบบ ความเร็วการรับส่งข้อมูลของฮับมีตั้งแต่ 10 Mbps และ 100 Mbps ฮับขนาดเล็ก (Small HUB)ฮับขนาดเล็กจะมีจำนวนพอร์ต RJ-45 ประมาณ 4,5,8 ,12 และ 16 พอร์ตแล้วแต่รุ่น ฮับขนาดเล็กนี้เหมาะสำหรับใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากประมาณ 3 -16 เครื่อง หากคุณกำลังเริ่มต้นสร้างระบบเครือข่ายขึ้นมาใช้งานโดยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยๆ





T- Connector

T- Connector เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Network Card กับ สาย Cable ซึ่ง อุปกรณ์ T-Connector นั้นจะมีอยู่ 3 ขา ขาที่ 1 นั้นเป็นขาที่เชื่อมต่อกับ Network Card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนอีก 2 ขานั้นจะเชื่อมต่อกับสาย Cable หรือ อุปกรณ์ Ground Terminator ในกรณีที่ไม่มีสาย Cable มาเชื่อมต่อแล้ว






coaxial cable

สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่
       สายโคแอ็กซ์เชียลมักถูกเรียกสั้นๆว่า สายโคแอ็กซ์(coax) มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ คือ มีแกนร่วมกัน นั่นหมายความว่า ตัวนำไฟฟ้าทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง โครงสร้างของสายโคแอ็กซ์ประกอบไปด้วย สายทองแดงป็นแกนกลาง ห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะบางหรืออาจเป็นใยโลหะที่ถักเป็นเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ชั้นสุดท้ายเป็นฉนวนหุ้มและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ
       ส่วนที่เป็นแกนของสายทำหน้าที่นำสัญญาณข้อมูล ชั้นใยข่ายจะเป็นชั้นที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดินไปในตัว ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่ควรเชื่อมต่อกัน เนื่องจากจะทำให้ไฟช็อตได้


RJ-45

RJ-45 คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สายคือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้ มี 2 ชนิด ได้แก่ 1.หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connector หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ2.หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณhubH U B หรือ Repeater อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล จะต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงในการทำงาน โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports รวมทั้ง 48 ports เป็นต้น จำนวน port หมายถึง จำนวนในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น Hub 24 ports หมายถึง สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าด้วยกัน จำนวน 24 เครื่อง



สายSTP




สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
              สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก



รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

ข้อดีของสาย STP
         - ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
         - ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ

ข้อเสียของสาย STP
         - มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
         - ราคาแพงกว่าสาย UTP




Modem

โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ modem หน้าที่


wireless

Wireless หรือ Wi-Fi คือ เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) 
ส่วน  ( Wireless LAN : WLAN หรือ wireless local area network) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ wireless คือ


Access Point (AP)
Access Point (AP)
Wireless Router
Wireless Modem Router
แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด พร้อมกันนั้นการติดตั้งก็สะดวกเหมาะกับการใช้งานในตัวอาคารและนอกอาคาร อุปกรณ์ที่นี้คือ Access Point หรือตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต

Access Point คืออะไร

Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ

– ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า

– ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ

– ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน

ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ access point คือ


ADSL Modem

(Asymmetric Digital Subscriber Line)เป็นมาตรฐานของโมเด็มเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลดทองแดง ให้เป็นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงโดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และด้วยความเร็วขนาดนี้มากเพียงพอสำหรับงานต่าง ๆ เช่น
• งานเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video On Demand
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ADSL มีโครงสร้างของระบบสื่อสารข้อมูลเป็นแบบไม่สมมาตร (Asymmetric) 

ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่ส่งมาจาก ISP ไปยังผู้ใช้บริการจะมีความเร็วที่มากกว่า ข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากผู้ใช้บริการไปยัง ISP ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้งานตามบ้านส่วนใหญ่มักเป็นการ Download ข้อมูลเสียมากกว่าการ Upload ข้อมูล




Wireless Broadband Router

อุปกรณ์ Wireless Broadband Router สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ADSL Modem หรือทำเป็นอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมวง Network สามารถกระจายสัญญาณ Wireless เพื่อใช้งาน Internet ร่วมกัน อุปกรณ์บางตัวสามารถเปลี่ยนเสาอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณได้ดีและไกลยิ่งขึ้น

Broadband Router (Router มี Wireless)


Firewall 

ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ firewall คือ

LAN cable testers
 (เครื่องทดสอบสาย LAN)


เครื่องทดสอบสาย LAN (LAN cable testers) เป็นเครื่องมือขนาดพกพา ใช้สำหรับงานติดตั้งและงานตรวจซ่อมแก้ไขระบบเครือข่าย LAN ใช้ตรวจค้นและแก้ไขปัญหาของระบบเครือข่าย LAN ที่หน้างานได้อย่างรวดเร็ว สามารถระบุตำแหน่งของสายที่เกิดปัญหา และสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องทดสอบสาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องทดสอบสาย



Splitter 
คือ อุปกรณ์แยกสัญญาณเสียงกับสัญญาณ ADSL ที่ถูกส่งมาพร้อมกันภายในคู่สายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน ซึ่งทำให้การติดตั้ง Splitter ร่วมกับการใช้งาน hi-speed Internet (ADSL) เป็นอย่างมากเนื่องจะช่วยทำให้ปัญหาสัญญาณรบกวนภายในคู่สายลดลง เพราะว่าหากเกิดสัญญาณรบกวนภายในคู่สายโทรศัพท์จะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีปัญหาตามไปด้วย ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีสัญญาณรบกวนคือ หลุดบ่อย, เชื่อมต่อไม่ได้เนื่อง Status Link ADSL กระพริบ, Low Speed

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Splitter

Terminator


เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดซับสัญญาณที่ส่งมาทางสายเคเบิล โดยจุดปลายของเครือข่ายจะต้องมีตัวเทอร์มิเนเตอร์นี้ติดอยู่เสมอ พูดง่ายๆ ก็คือ เทอร์มิเนเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หยุดสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไปให้สะท้อนไปให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ สายเคเบิลแต่ละแบบของเครือข่ายก็อาจจะใช้เทอร์มิเนเตอร์หน้าตาแตกต่างกันไปได้